วันอังคารที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2557

ผลงานนักเรียน คำศัพท์ คณิตศาสตร์













































บทเรียนออนไลน StarFall Mathematics.
001  รถไฟการนับ (count-train)
002  การนับคุ๊กกี้ 1-10 (count-cookies)
003  การนับอาหารเลี้ยงสัตว์ 1-10 (feed-animal)
004  จำนวนนับจำนวน 1-100 (Let's count to 100)
005  การเปรียบเทียบ มากกว่า น้อยว่า เท่่ากับ (greater-less-equals)
006  รูปทรงเรขาคณิต (geometry-3D)
007  จำแนกรูปเหลี่ยม (polygon-sort)
008  จำแนกรูปทรงกระดุม (button-sort)
009  จำแนกรูปทรง 2 มิติ 3 มิติ (geo-2D3D-sort)
010  ปฏิทิน (calendar)
  ที่มา  http://thaiitteacher.no-ip.info/eLearning/mathematics.html

การเรียนคณิตศาสตร์แนว Why จากแดนโสม


ในสวนสัตว์มียีราฟและนกยูงรวมกัน 25 ตัว นับขาได้ 68 ขา จงแสดงว่ามียีราฟกี่ตัว ?


หากถามโจทย์คณิตศาสตร์นี้กับผู้ใหญ่ หลายคนคงเริ่มหยิบกระดาษดินสอ และแทนค่าสมการด้วยตัวแปร x และ y กันอย่างสนุกมือ แต่หากต้องการนำโจทย์นี้ไปถามกับเด็กประถม ผู้ใหญ่หลายคนอาจส่ายหน้าด้วยความคิดที่ว่า ยังเร็วเกินไปสำหรับการสอนเด็กในช่วงชั้นดังกล่าวให้รู้จักกับสมการ หรือตัวแปร x y z เพื่อไขคำตอบจากโจทย์ดังกล่าว

แต่เชื่อหรือไม่ว่า แม้ไม่รู้จักการแทนค่าตัวแปร x y z เด็กในประเทศที่มีอันดับคะแนนคณิตศาสตร์สูงเป็นอันดับหนึ่งของโลกอย่าง เกาหลีใต้ก็สามารถแก้โจทย์ดังกล่าวได้ตั้งแต่ชั้นประถม 3 !!!!
ข้อความข้างต้นไม่ใช่เรื่องเหลือเชื่อ หรือเกิดจากการเรียนที่หนักกว่าปกติของเด็กเกาหลี แต่เกิดจากรูปแบบการเรียนการสอนที่ให้เด็กคิดผ่านการตั้งคำถามของคุณครู ว่าต้องทำอย่างไรจึงจะหาคำตอบของโจทย์ข้อนี้ได้

ผล ที่ได้จากการสอนในลักษณะดังกล่าว นอกจากจะทำให้พบวิธีพัฒนาเด็กในด้านคณิตศาสตร์แล้ว ยังเป็นการปลุกศักยภาพในตัวของเด็กที่มีไม่จำกัดออกมาได้เป็นอย่างดี และยังทำให้ค้นพบว่าวิธีในการตอบโจทย์ดังกล่าวยังมีอีกมากมายนับสิบวิธี มีแม้กระทั่งใช้การวาดภาพเพื่อหาคำตอบ ซึ่งเป็นวิธีคิดง่ายๆ สไตล์เด็ก ป.3 นั่นเอง

เมื่อห้องเรียนเปิดโอกาสให้แสดงความคิดสร้างสรรค์ จึงไม่แปลกที่ความชอบและความถนัดด้านคณิตศาสตร์ของเด็กเกาหลีใต้จะถูกดึงออก มาใช้อย่างต่อเนื่อง และทำให้อันดับในการวัดผลทางด้านคณิตศาสตร์จากโครงการ PISA (Program for International Student Assessment) และโครงการศึกษานานาชาติ Trends in International Mathematics and Science Study หรือ TIMSSของเยาวชนเกาหลีใต้นั้นติดอันดับ 1 ของโลกมายาวนานนับ 10 ปี (สำหรับประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 33 จากทั้งหมด 40 อันดับ)

MGR Lite และ Life & Family มีโอกาสพบกับ มร.ปาร์ค มยุง จุน (Park Myung Jun) อดีตคุณครูคณิตศาสตร์ผู้คิดค้นและพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนคณิตศาสตร์แนว ใหม่ โดย มร.ปาร์คเล่าถึงประสบการณ์ในการสอนอันยาวนานซึ่งเป็นที่มาของหลักสูตร KingMath ที่เขาคิดค้นขึ้นว่า

"เทคนิคการแก้โจทย์คณิตศาสตร์ ก็เหมือนกับ การจับปลา ปลาแต่ละชนิดมีวิธีจับมากกว่าหนึ่งวิธี โจทย์คณิตศาสตร์เองก็เช่นกัน อาจกล่าวได้ว่าการกระตุ้นให้เด็กคิด และมีส่วนร่วมในชั้นเรียนเป็นสิ่งสำคัญมาก สำหรับการเรียนคณิตศาสตร์ เพราะเรามีโอกาสค้นพบเทคนิคใหม่ๆ การคิดใหม่ๆ ได้มากมาย เพียงแค่ครูให้คำชี้แนะกับเด็กว่าโจทย์รูปแบบนี้ควรจะต้องทำอย่างไร แล้วเด็กจะมีความคิดที่หลากหลายพรั่งหรูออกมา ซึ่งโดยปกติแล้ว หากเด็กทำได้ดี คุณครูควรมีรางวัลให้เด็กด้วย เพื่อช่วยจูงใจให้เด็กชอบคณิตศาสตร์มากยิ่งขึ้น"

จากโจทย์ : ในสวนสัตว์มียีราฟและนกยูงรวมกัน 25 ตัว นับขาได้ 68 ขา จงแสดงว่ามียีราฟกี่ตัว? 

วิธีคิดของเด็กประถม 3 : จึงอาจเป็นการวาดภาพนก 25 ตัว ซึ่งเด็กจะพบว่า ขาได้ถูกใช้ไปเพียง 50 ขาเท่านั้น (25 x 2) เหลือขาที่ยังไม่ได้ใช้อีกตั้ง 18 ขา (68 - 50) เด็กก็จะเอาขาที่เหลือนั้นไปใส่ให้กับนกทีละ 2 ขา เพื่อเปลี่ยนให้นกกลายเป็นยีราฟ เมื่อทำไปเรื่อยๆ เด็กก็พบว่ามีสัตว์อยู่ 9 ตัวที่มีขา 4 ข้าง ส่วนอีก 16 ตัวนั้นมีขา 2 ข้าง นั่นคือที่มาของคำตอบว่า มีนกยูง 16 ตัว และมียีราฟ 9 ตัว ในสวนสัตว์แห่งนี้

After School แปลกที่แตกต่าง

จากคำบอกเล่าของ มร.ปาร์ค ยังทำให้ทราบอีกด้วยว่า ค่านิยมด้านการเรียนวิชาต่างๆ ของครอบครัวชาวเกาหลีใต้มีสิ่งที่แตกต่างจากประเทศไทยหลายประการ หนึ่งในนั้นก็คือ การมีโรงเรียนในรูปแบบ After School สำหรับเด็กๆ ซึ่งอาจแตกต่างไปจากโรงเรียนกวดวิชาสไตล์ไทยๆ โดยโรงเรียนแนว After School นั้นเริ่มรับเด็กตั้งแต่ชั้นอนุบาล มีหลายวิชาให้เลือกเรียน ทั้งคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาเกาหลี ภาษาอังกฤษ ฯลฯ แต่การสอนจะใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย และสอนเพื่อสร้างความเข้าใจในวิชานั้นๆ แต่จะไม่เน้นเรื่องเทคนิคการทำคะแนนให้ได้มากๆ เพื่อการสอบเข้า เช่น การตัดตัวเลือกที่ไม่น่าจะเป็นคำตอบของโจทย์ แบบที่โรงเรียนกวดวิชาบางแห่งนิยมฝึกเด็ก

ทั้งนี้ ต้นกำเนิดของโรงเรียนในรูปแบบ After School มาจากปัญหาในระบบการเรียนการสอน ที่ทุกประเทศต่างพบเจอนั่นก็คือ การที่ให้เด็กเก่งและเด็กไม่เก่งเรียนคละกัน


"เด็ก อ่อนต้องเรียนร่วมกับเด็กเก่ง ดังนั้น หากคุณครูสอนไว เด็กที่เข้าใจช้าก็จะตามไม่ทัน แต่ถ้าสอนช้า เด็กที่หัวไวก็จะเบื่อ เพราะเรียนไม่สนุก นอกจากนั้น ในการเรียนคณิตศาสตร์ (รวมถึงการเรียนในทุกวิชา) ยังขาดระบบประเมินผลเด็กว่ามีจุดอ่อนในด้านใด ครูและผู้ปกครองอาจทราบแค่เพียงว่าเด็กคนนี้อ่อนคณิตศาสตร์ แต่อ่อนตรงไหน อย่างไร ไม่มีใครทราบ ดังนั้นจึงไม่สามาถแก้ไขปัญหาให้เด็กได้อย่างถูกจุด"

โรงเรียนแนว After School จึงเข้ามารับปัญหานี้ไปแก้ไข โดยการจัดการสอนสำหรับเด็กตามกลุ่มความสามารถ เด็กเก่งได้เรียนเทคนิคแนวคิดใหม่ๆ เด็กเรียนช้าได้มีเวลาปูพื้นฐานให้แน่น และมีการจัดทำระบบประเมินผลเด็ก หาจุดอ่อนของเด็กเพื่อทำการแก้ไข

"เพราะเด็กๆ มีความสามารถทางคณิตศาสตร์ที่แตกต่างกัน จึงควรมีการประเมินความรู้พื้นฐานทางคณิตศาสตร์ และจัดบทเรียนให้เหมาะสมกับระดับความรู้ เมื่อเริ่มต้นเรียนคณิตศาสตร์อาจเริ่มต้นจากการเรียนทฤษฎี การแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ฝึกความแม่นยำ และนำมาประเมินความสามารถเพื่อวิเคราะห์จุดอ่อนจุดแข็งของเด็ก" มร.ปาร์คกล่าว

คณิตศาสตร์แนว Why ?

อย่างไรก็ดี ปัญหาที่เกิดขึ้นทั่วโลกเกี่ยวกับการเรียนคณิตศาสตร์ในปัจจุบันยังมีอยู่ อย่างต่อเนื่อง โดยปัญหาหลักที่พบยังคงเป็นเรื่องของจำนวนเด็กๆ ที่ไม่ชอบเรียนวิชาคณิตศาสตร์มีเพิ่มขึ้น ซึ่งปัญหาเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาศาสตร์ต่างๆ ของโลก โดยเฉพาะศาสตร์บางแขนงที่มีวิชาคณิตศาสตร์เป็นพื้นฐาน เช่น วิศวกรรมศาสตร์ แพทยศาสตร์ วิทยาศาสตร์ การขาดบุคลากรจึงทำให้การต่อยอดความรู้ในสาขาต่างๆ ต้องน้อยลงตามไปด้วย ซึ่งสาเหตุที่ทำให้เด็กรุ่นใหม่เมินคณิตศาสตร์นอกจากจะเกิดขึ้นจากการเรียน คละกันตามที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว อีกส่วนหนึ่งยังเกิดจาก "ความไม่เข้าใจ" ถึงความจำเป็นในการเรียนคณิตศาสตร์ด้วย

"สิ่งที่ผิดพลาดของการเรียนคณิตศาสตร์ในอดีตอาจเป็น เรื่องของการใช้คำถาม What ? ไปถามเด็ก ปฏิบัติกับเด็กเป็นเหมือนเครื่องมือหรืออุปกรณ์อย่างหนึ่งในการหาคำตอบออกมา แต่แนวทางในการสอนคณิตศาสตร์ของเราที่คิดค้นขึ้นและใช้สอนกับเด็กๆ ในเกาหลีใต้ก็คือ เราจะไม่ถามคำถาม What ? กับเด็ก เพราะคำถาม What ? เราสามารถหาคำตอบได้จากเครื่องคิดเลข คอมพิวเตอร์ เนื่องจากอุปกรณ์เหล่านี้ถูกออกแบบมาให้ตอบคำถาม What ?"

"สิ่งที่เราจะถามกับเด็กคือ Why ? เห็นได้จากโจทย์คณิตศาสตร์ของเราคือ Why ? เด็กมีโอกาสได้คิดถึงกระบวนการในการหาคำตอบ ได้มีการเชื่อมโยงข้อมูลต่างๆ เข้าด้วยกัน ได้คิด วิเคราะห์ หาเหตุผลมาตอบคำถาม ซึ่งจุดนี้เป็นสิ่งที่เครื่องจักรทำไม่ได้"


ซึ่งก่อนจะจากกัน มร.ปาร์คได้กล่าวถึงความสำเร็จของเกาหลีใต้ในอุตสาหกรรมโลกเอาไว้ประการหนึ่ง มีใจความว่า

"เกาหลีใต้มีบริษัทอย่างแอลจี ซัมซุง เพราะเรามีทรัพยากรมนุษย์ที่มีความรู้ความสามารถ ซึ่งรากฐานของการก่อตั้งบริษัทที่ผลิตสินค้าเทคโนโลยีเหล่านี้ล้วนแล้วต้อง อาศัยความเข้าใจเรื่องคณิตศาสตร์ หากเยาวชนในประเทศมีพื้นฐานทางด้านคณิตศาสตร์ดี มีความเข้าใจ ก็จะทำให้เกิดวิศวกรที่ดีตามมา และสามารถพัฒนาเทคโนโลยีขั้นสูงเหล่านี้ได้"




ที่มาข้อมูล : ASTVผู้จัดการออนไลน
Wearable Device เทรนด์ใหม่ล่าสุดต่อจากสมาร์ทโฟน
     จากงานแถลงข่าวพิเศษของบริษัทแอปเปิลในวันที่ 9 กันยายนที่ผ่านมา นอกจากจะเป็นการเปิดตัว iPhone 6 และ iPhone 6 Plus แล้ว อีกอุปกรณ์หนึ่งที่คนเฝ้ารอดูและเป็นที่ฮือฮาค่อนข้างมากคือ "นาฬิกา" ที่แอปเปิลเรียกว่า Apple Watch นั่นเอง การเปิดตัว Apple Watch ครั้งนี้ทำให้เห็นได้ว่าการแข่งขันของบริษัทไอทีทั้งหลาย ไม่ได้หยุดอยู่เพียงแค่คอมพิวเตอร์และสมาร์ทโฟนอีกแล้ว แต่เริ่มล้ำเข้ามาถึงอุปกรณ์ที่เป็นส่วนตัวมากขึ้น เช่น นาฬิกาข้อมือ หรือ แว่นตา ซึ่งอุปกรณ์เหล่านี้เราเรียกว่า "อุปกรณ์ที่สวมใส่ได้ (wearable device)" นั่นเอง วันนี้ผมเลยจะขอมาเล่าเรื่องนี้ให้ฟังกันครับ
          จริงๆ แล้วไอเดียเรื่อง wearable device นั้น ได้มีมาสักพักหนึ่งแล้ว นำทีมโดยฝั่งแอนดรอยด์ที่ได้เปิดตัว Google Glass แว่นตาอัจฉริยะ ในปีที่แล้ว และเปิดตัวนาฬิกาหลากหลายรูปแบบบนพื้นฐานเดียวกันที่เรียกว่า Android Wear จากหลายผู้ผลิต เช่น Samsung Gear, Moto 360, LG G Watch
           อุปกรณ์ wearable device เหล่านี้ มีจุดประสงค์หลักๆ 2 อย่างคือ 1.) เป็นส่วนขยายของโทรศัพท์สมาร์ทโฟนของเรา และ 2.) เป็นอุปกรณ์ที่คอยตรวจสอบและเก็บข้อมูลสภาวะร่างกายของผู้สวมใส่ เช่น อัตราการเต้นของหัวใจ การเคลื่อนไหว (จำนวนก้าวหรือระยะทาง) เพื่อนำมาใช้วิเคราะห์สุขภาพของผู้สวมใส่ได้ทันทีหรือทำเป็นสรุปข้อมูลภายหลังก็ได้
           จุดประสงค์แรกที่เป็นส่วนขยายของโทรศัพท์สมาร์ทโฟนนั้น มีข้อดีคือ ช่วยในการแสดงผลการแจ้งเตือนต่างๆ ทำให้เราไม่ต้องหยิบโทรศัพท์มือถือขึ้นมาดูบ่อยครั้ง บางอย่างสามารถตอบกลับได้จาก wearable device เลย เช่น การตอบข้อความ SMS สั้นๆ หรือการสั่งการด้วยเสียง แต่อย่างไรก็ดีเราจำเป็นที่จะต้องเชื่อมต่ออุปกรณ์เหล่านี้เข้ากับโทรศัพท์สมาร์ทโฟนของเราตลอดเวลา ทำให้ต้องมีการใช้งานแบตเตอรี่จากสมาร์ทโฟนเพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้อุปกรณ์ wearable device ยังจำเป็นจะต้องมีพลังงานหล่อเลี้ยงตลอดเวลา ทำให้เจ้าของจะต้องนำไฟชาร์ทไฟหลังการใช้งาน ซึ่งอาจจะเป็นทุกวันหรือ 2-3 วันครั้ง สิ่งนี้ทำให้การใช้งานไม่ค่อยสะดวกนักและทำให้เพิ่มความต้องการการใช้พลังงานโดยรวมมากขึ้นไปอีก
           อีกจุดประสงค์หนึ่งคือการใช้เป็นอุปกรณ์ตรวจสอบและเก็บข้อมูลสภาวะร่างกายของผู้สวมใส่ ซึ่งสอดรับกับเทรนด์การนำเทคโนโลยีมาช่วยส่งเสริมสุขภาพของมนุษย์ที่กำลังเป็นที่สนใจอย่างมากอยู่ในขณะนี้ อุปกรณ์เหล่านี้สามารถเก็บข้อมูลอัตราการเต้นของหัวใจ จำนวนก้าวที่เดิน ปริมาณพลังงานหรือแคลอรี่ที่ใช้ไประหว่างวันหรือระหว่างการออกกำลังกาย เพื่อนำมาวิเคราะห์สุขภาพของผู้สวมใส่ได้ทันที
          เป็นไงบ้างครับ น่าสนใจจริงๆ กับอุปกรณ์ประเภท wearable device เหล่านี้ ผมเชื่อว่าอุปกรณ์เหล่านี้คงจะมีเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในอนาคต ซึ่งอาจจะเป็นในรูปแบบอื่นอีกที่ไม่ใช่นาฬิกาข้อมือ เช่น แว่นตา (Google Glass เป็นผู้นำในเรื่องนี้แล้ว) แหวน แถบรัดข้อมือ ฯลฯ โดยทั้งหมดมีจุดมุ่งหมายที่จะทำให้เราใช้ชีวิตได้สะดวกขึ้น สบายขึ้น และมีสุขภาพที่ดีขึ้น ก็ต้องรอดูกันต่อไปว่าทิศทางของอุปกรณ์เหล่านี้จะไปในทิศทางใด เป็นที่ยอมรับมากน้อยขนาดไหน สำหรับผม ตอนนี้ขอเก็บเงินไว้ซื้อ Apple Watch ไว้ใช้สักเครื่องก่อนนะครับ
อ้างอิงจาก
wikipedia.com, cnet.com, flickr.com
          ทุกคนเคยได้ยินคำว่า “การเขียนโปรแกรม” หรืออาชีพที่เรียกว่า “โปรแกรมเมอร์” ใช่ไหมครับ การเขียนโปรแกรมหรือที่ภาษาอังกฤษเรียกว่า Programming (โปรแกรมมิ่ง) หรือ coding (โค้ดดิ้ง) นั้น หมายถึงการเขียนชุดคำสั่งเพื่อบอกให้คอมพิวเตอร์ปฏิบัติงานตามที่เราต้องการ โดยทั่วไปที่นักเรียน นักศึกษา ด้านคอมพิวเตอร์หรือไอทีฝึกเขียนกันอยู่นั้นก็จะเลือกภาษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ภาษาใดภาษาหนึ่งเพื่อนำมาฝึกเขียน เช่น ภาษาซี (C language) ภาษาจาว่า (Java language) ซึ่งภาษาเหล่านี้ค่อนข้างใช้เวลาในการศึกษาเรียนรู้ จนทำให้บางคนเลิกไปหรือแม้แต่เกลียดการเขียนโปรแกรม เพราะเชื่อว่าเป็นเรื่องที่เข้าใจยาก
          ผมได้ไปพบเว็บไซต์อันหนึ่งชื่อว่า code.org ที่มีจุดประสงค์หลักเพื่อทำให้ทุกคนเริ่มเรียนรู้การเขียนโปรแกรมอย่างง่ายๆ เนื่องจากผู้ก่อตั้ง code.org เชื่อว่าการเรียนรู้ด้านคอมพิวเตอร์นั้นมีความสำคัญอย่างยิ่งกับเด็กๆ และควรจะให้เด็กๆ เริ่มศึกษาพร้อมๆ กับวิชาหลักอื่นๆ เช่น คณิตศาสตร์ หรือวิทยาศาสตร์ จีงได้พยายามหาวิธีที่จะทำให้เด็กๆ (หรือผู้ใหญ่) มาสนใจการเขียนโปรแกรมผ่านทาง code.org ผมเห็นว่าน่าสนใจมาก จึงจะมาเชิญชวนให้ผู้อ่านทุกคนลองเข้าไปเล่นกันดูครับ
          เว็บไซต์ code.org สามารถให้ผู้เรียนฝึกหัดได้โดยการเปิดเว็บไซต์เท่านั้น ไม่จำเป็นต้องติดตั้งโปรแกรมเพิ่มเติมใดๆ ทำให้ข้ามขั้นตอนการตั้งค่าต่างๆ ที่ยุ่งยากกวนใจออกไป นอกจากนั้นทีมพัฒนายังออกแบบแบบฝึกหัดให้มีรูปแบบเป็น Block programming ซึ่งง่ายต่อการเข้าใจมากกว่าการเขียนด้วยภาษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เพราะ block programming มีลักษณะเหมือนการต่อจิ๊กซอว์ บล๊อคแต่ละชิ้นมีสีสันที่แตกต่างกันที่หมายความถึงรูปแบบการเขียนหรือโครงสร้างของโปรแกรมที่แตกต่างกัน ทำให้ไม่ต้องสนใจกับไวยากรณ์อันซับซ้อนของตัวภาษา แต่เน้นไปที่การพัฒนาตรรกะและทักษะในการแก้ปัญหาของผู้เรียน ซึ่งเมื่อผู้เรียนเคยชินกับโครงสร้างของการเขียนโปรแกรมและเข้าใจวิธีการแก้ปัญหาโดยใช้คอมพิวเตอร์แล้ว ก็จะทำให้สามารถเปลี่ยนไปเขียนโปรแกรมด้วยภาษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์อื่นๆ ได้โดยง่าย การเขียนโปรแกรมด้วย block programming นี้ไม่ได้ใช้สำหรับสอนเด็กๆ เท่านั้น แต่ยังได้ถูกใช้สอนในระดับมหาวิทยาลัยดังๆ เช่น มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด หรือ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียเบิร์คลีย์ด้วย
          หากท่านไม่เคยเขียนโปรแกรมมาก่อนเลย ให้ท่านเริ่มที่แบบฝึกหัดที่ชื่อว่า “Hour of Code” หรือแปลว่า หนึ่งชั่วโมงกับการเขียนโปรแกรม ที่จะให้ท่านได้ฝึกการเขียนโปรแกรมง่ายๆ ตั้งแต่พื้นฐานแรกสุดโดยตลอดการฝึกหัดจะมีวิดีโอคั่นเป็นช่วงๆ เพื่อสอนหลักการสำคัญ เช่น การเรียงลำดับคำสั่ง การทำซ้ำ (loop) การตัดสินใจ (selection) ครูที่มาสอนก็ไม่ใช่ธรรมดา แต่เป็นกูรูด้านไอที เช่น มาร์ค ซักเคอร์เบิร์ค เจ้าของเฟสบุ๊ค หรือ บิลล์ เกตส์ ผู้ก่อตั้ง ไมโครซอฟท์ เลยทีเดียว
          แบบฝึกหัดใน Hour of Code ถูกออกแบบมาอย่างดีให้ดึงดูดเด็กๆ เพราะทำเป็นเกมเจ้านกพิโรธ Angry Birds โดยเราจะต้องควบคุมเจ้านกสีแดงให้หาหนทางไปจัดการหมูเขียวให้ได้ โดยผู้เรียนจะต้องวางแผนให้ดีและเลือกเขียนโปรแกรมโดยใช้จำนวนบล๊อคไม่เกินที่กำหนดไว้ในแต่ละด่านเท่านั้น ทำให้จะต้องฝึกการเขียนโปรแกรมอย่างมีประสิทธิภาพที่สุด หากทำได้จนครบ 20 ด่านแล้ว ก็จะได้รับใบประกาศณียบัตร Hour of Code ไว้แชร์โชว์เพื่อนๆ บนเฟสบุ๊คหรือทวิตเตอร์ได้อีกต่างหาก เมื่อเรียนจบแบบฝึกหัดแรกแล้วยังไม่หนำใจ ท่านสามารถเลือกเรียนต่อได้อีกหลากหลายตามที่ต้องการจากง่ายไปหายาก เช่น ฝึกเขียนเกม Flappy Bird เพื่อสร้างเกม Flappy Bird ในแบบของเราเองและแชร์ให้เพื่อนๆ เล่นได้ หรือ แม้กระทั่งการเขียนโปรแกรมลงบนโทรศัพท์สมาร์ทโฟนก็ยังได้
          เป็นไงบ้างครับ น่าสนใจแบบนี้แถมยังเรียนได้ฟรีๆ ผมก็อยากเชิญชวนให้ทุกคนมาลองกันดูนะครับที่ http://code.orgแล้วจะรู้ว่าการเขียนโปรแกรมไม่ใช่เรื่องยาก แถมยังสนุกอีกด้วย :-)
อ้างอิง: http://code.org

Live Blog สด Microsoft จัดงานเผยโฉม Windows 10 เที่ยงคืน คืนนี้ !!

windows9-leakเที่ยงคืน คืนนี้ตามเวลาประเทศไทย  Microsoft จะเปิดตัว Windows 10  ที่ San Francisco โดยจะมีเผยฟีเจอร์ใหม่ๆไม่ว่าจะเป็น ปุ่ม Start หน้าตาใหม่   / Notification Center โฉมใหม่ และอาจมี Cortana for PC ด้วย (Cortana ก็คือคล้ายๆ Siri ของ apple  และ Google Now จาก Google  ที่คุณสามารถสั่งงานด้วยเสียงเพื่อหาข้อมูลหรือสั่งงานให้ Windowsทำงานตามคำสั่งคุณ )
ที่สำคัญ มีข่าวลือว่า ใครใช้ Windows 8 จะได้รับสิทธิอัพเกรดเป็น Windows รุ่นใหม่ ฟรี ด้วย และคาดว่าจะเริ่มมีประกาศปล่อย Windows 9 Technical Preview ให้ผู้พัฒนา และผู้ที่สนใจลองใช้ก่อนฟรีด้วย ซึ่งรายละเอียดติดตามได้ในงาน ครั้งนี้ it24hrs มีการ Live blog สด ที่หน้าเว็บไซต์ เริ่มเที่ยงคืนคืนนี้เป็นต้นไป

วิธีเปลี่ยนจากจอสี เป็น จอขาว-ดำ บน iOS8

ios8-gray-display-2ยังนำเสนอเกี่ยวกับ ฟีเจอร์ iOS8 ใหม่อยู่ สำหรับผู้ที่อัพเดตสู่ iOS8 รวมทั้ง  iPhone 6 และ iPhone 6 Plus  ด้วย แต่มีฟีเจอร์นึงที่หลายท่านยังไม่ทราบว่ามันมีแบบนี้ด้วยหรือ? นั่นคือ แสดงหน้าจอเป็นโทนสีเทา และขาวดำ ซึ่ง iOS8 ทำได้ด้วย !

ios8-gray-displayวิธีการเพียงไปที่ settings >> เลือก General >> เลือก  Accessibility
ios8-gray-display-1
จากนั้นลองเลือกที่ Grayscale ให้เป็น On ดู
ios8-gray-display-3
แค่นี้ก็จะได้โทนสีเป็นโทนสีเทา แล้ว และถ้าเลือกจาก หมวด  Accessibility เปิดที่  Inverts Colors จะเป็นโหมดโทนมืดขาวดำ สำหรับคนตาบอดสีด้วย  แน่นอนฟีเจอร์นี่หลายท่านยังไม่ทราบว่ามีแบบนี้ใน iOS8 ด้วย