วันอังคารที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2557

 

ความหมายของเกม
เกม (Games) มีความหมายหลายอย่างแตกต่างกันออกไป โดยมีผู้ ให้ความหมายไว้หลายความหมาย ซึ่งพอจะสรุปได้ดังต่อไปนี้
ปีเตอร และโจเซฟ (Peter and Joseph,1974) ได้ให้ความหมายของเกมว่าเป็นกิจกรรมการสร้างสถานการณ์ที่เราความสนใจ มีการแข่งขันมีคุณค่า และสร้างความเพลิดเพลิน ภายใต้กฎกติกาซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดของ จรกรณ ศรประเสริฐ(2545, หนา 2) ที่ได้กล่าวถึงเกมว่า หมายถึง รูปแบบของการเล่นที่
มุ่งเน้นในด้านความสนุกสนานส่งเสริมให้ผู้เล่นเกิดการพัฒนาทักษะพื้นฐานด้านการเคลื่อนไหว ผู้ เล่น
เล่นด้ วยความสมัครใจมีรูปแบบและกฎกติกาการเล่นที่ไม่ยุ่งยากซับซ้อนสามารถปรับเปลี่ยนเพื่อความเหมาะสมในการเล่นได้ตลอดเวลา นอกจากน ทศนา แขมมณ (2545,หนา 81) ก็ได้เสนอแนวคิดเกี่ยวกับเกมในด้านของวิธีสอน ว่าหมายถึง กระบวนการที่ผู้สอนใช้ในการช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด โดยการให้ผู้เรียนเล่นเกม ตามกติกาและนำเนอหา ข้อมูลของเกม พฤติกรรมการเล่นวิธีการเล่น และผลการเล่นเกมของผู้เรียนมาใช้ในการอภิปราย เพื่อสรุปการเรียนรู้ดังนั้นจงสรุปได้ว่า เกมเป็นกิจกรรมหรือการเล่ นที่ มี กฎกติ กาชัดเจนไม่ ซับซ้อนและทำให้ผู้เล่นเกิดความสนุกสนานเพลิดเพลิน
ประเภทของเกม
เกมสามารถจัดแบ่งออกเป็นประเภท ต่างๆ ได้หลายประเภท ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเกณฑ์ที่ใช้ ในการจัดประเภท ผู้สอนวิชาสังคมศึกษาควรศึกษา และทำความเข้าใจเกี่ยวกับประเภทของเกม เพื่อ จะได้นำไปจัดกิจกรรมการเรียนรู้ได้อย่างเหมาะสม และตรงตามวัตถุประสงค์ ซึ่ง สุวิทย์ มูลคำ และ อรทัย มูลคำ (2545, หน้า 91-93) ได้จัดประเภท ของเกมตามลักษณะการเล่น อุปกรณ์ และรูปแบบ การเล่นซึ่งจำแนกออกเป็น 10 ประเภทหลัก ดังนี้
  1.  เกมเบ็ดเตล็ด เป็นลักษณะเกมง่ายๆ ที่สามารถจัดเล่นได้ในสถานที่ต่างๆ โดยมี จุดประสงค์ของการเล่นเพื่อให้การเล่นนั้นไปสู่ จุดหมายในระยะเวลาสั้นๆ เป็นการสร้างเสริม ทักษะการเคลื่อนไหวเบื้องต้น คือ การเคลื่อนไหว ส่วนต่างๆ ของร่างกาย เพื่อให้เกิดทักษะความ ชำนาญและคล่องตัว ซึ่งเกมประเภทนี้ได้แก่ เกมประเภทสนุกสนาน เกมมีจุดหมาย เกมย้ำความ ว่องไว และเกมฝึกสมอง เป็นต้น
       2.  เกมเล่นเป็นนิยาย เป็นลักษณะของ กิจกรรมการแสดงออกซึ่งท่าทางต่างๆ รวมทั้ง การเคลื่อนไหวแสดงออกในรูปของการเล่นหรือ แสดง โดยการกำหนดบทบาทสมมุติหรือการแสดง ละครตามความเข้าใจของผู้แสดงแต่ละคน และ ดำเนินเรื่องไปตามเนื้อหาหรือเรื่องที่จะเล่
       3. เกมประเภทสร้างสรรค์ เป็นลักษณะ ของกิจกรรมการเล่นที่ส่งเสริมการเล่นที่ส่งเสริม
ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ การแสดงออกซึ่งความ สามารถในการเคลื่อนไหว ความสามารถในการ ใช้ภาษาและสมองคิดเพื่อโต้ตอบหรือกิจกรรม การเล่นอย่างสนุกสนาน
      4. เกมประเภทชิงที่หมายไล่จับ   แบ่งเป็น 2  ประเภทย่อยๆ ได้แก่
          4.1 เกมประเภทชิงที่หมาย เป็นเกม การเล่นที่ต้องอาศัยความแข็งแรง รวดเร็ว ความ คล่องตัวไหวพริบ การหลอกล่อ และกลวิธีเพื่อจับ เป้าหมายหรือชิงที่ให้เร็วที่สุด ให้ประโยชน์ด้าน ความสนุกสนาน พัฒนาความเจริญเติบโตและ ความสามารถในการตัดสินใจของผู้เรียน
          4.2 เกมประเภทไล่จับ เป็นเกมที่ใช้ ความคล่องตัวในการหลบหลีกไม่ให้ถูกจับ ต้อง อาศัยความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขา สมรรถภาพ ทางกายให้ความสนุกสนานเพลิดเพลินและเป็น การออกกำลังกายด้วย
       5. เกมประเภทรายบุคคล เป็นเกมแข่งขันประเภทหนึ่งที่ใช้ความสามารถและสมรรถภาพ ทางกายของแต่ละบุคคลเป็นหลักในการแข่งขัน ใครสามารถทำได้ดีและถูกต้องก็จะเป็นผู้ชนะ จัดเป็นเกมประเภทวัดความสามารถของผู้เรียน ซึ่งควรจะเป็นลักษณะเกมการต่อสู้หรือเลียนแบบ ก็ได้
       6. เกมแบบหมู่หรือผลัด เป็นเกมที่มี ลักษณะในการแข่งขันระหว่างกลุ่ม โดยแต่ละหมู่ หรือกลุ่มจะไม่ยุ่งเกี่ยวกับกลุ่มอื่น ทุกๆ คนจะ พยายามทำให้ดีที่สุด เพื่อประโยชน์ของกลุ่มโดย อาศัยทักษะความสามารถของสมาชิกแต่ละคนมาเป็น ผลรวมของกลุ่มเพื่อฝึกทักษะเบื้องต้นทางกีฬา ส่งเสริมสมรรถภาพทางร่างกาย สนุกสนานร่าเริง และความมีน้ำใจเป็นนักกีฬา เป็นต้น
       7. เกมพื้นบ้าน เป็นเกมที่เด็กๆ  เล่นกันใน ท้องถิ่นซึ่งมีการถ่ายทอดมาจากบรรพบุรุษ  เป็นเกม ที่แสดงออกถึงความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น แสดงถึงวัฒนธรรมประเพณีที่มีมาแต่โบราณ  เช่น เกมหมากเก็บ เกมสะบ้า เกมจ้ำจี้ เกมกาฟักไข่ เกมมอญซ่อนผ้า เป็นต้น
        8. เกมละลายพฤติกรรม เป็นเกมที่ใช้ สื่อให้ผู้เรียนที่ยังไม่เคยรู้จักกัน ปรับเปลี่ยน พฤติกรรมจากการเคร่งขรึม สงวนท่าทีไม่กล้า แสดงออกมาเป็นกล้าแสดงออก ยิ้มแย้ม เปิดใจ ร่วมกันสร้างสรรค์บรรยากาศให้ทุกคนรู้จักกันและ ก่อให้เกิดสัมพันธภาพที่ดีต่อกัน
        9. เกมสันทนาการ เป็นเกมการเล่น ที่มีจุดหมาย เพื่อความสนุกสนานเพลิดเพลิน ผ่อนคลายความตึงเครียด เล่นได้ทุกเพศทุกวัย ส่วนใหญ่จะเป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นในการรวม กลุ่มพบปะสังสรรค์ต่างๆ
       10. เกมเพื่อประสบการณ์การเรียนรู้  เป็น เกมที่ใช้ประกอบการเรียนรู้โดยกำหนดวัตถุ ประสงค์และขั้นตอนการดำเนินการไว้ชัดเจน โดยเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ทำกิจกรรมที่จัดให้ ให้ทุกคนช่วยกันคิดและเล่นเกม หลังจากนั้นจะ มีการนำเนื้อหาข้อมูลของเกม พฤติกรรมการเล่น วิธีการเล่นและผลการเล่นมาใช้ในการอภิปรายเพื่อสรุป ให้แนวคิดเชื่อมโยงกับเนื้อหาวิชาหรือบทเรียน นำไปสู่การเรียนรู้ของผู้เรียน
ในส่วนของทิศนา แขมมณี (2545, หน้า 82) ก็ได้จัดแบ่งเกมที่ออกแบบมาให้เป็นเกมการ ศึกษาโดยตรง จำนวน 3 ประเภท กล่าวคือ
  1. เกมแบบไม่มีการแข่งขัน เช่น เกมการสื่อสาร เกมการตอบคำถาม เป็นต้น
     2. เกมแบบแข่งขัน มีผู้แพ้ ผู้ชนะ ซึ่งเกม ส่วนใหญ่จะเป็นเกมในลักษณะนี้ เพราะการ แข่งขันช่วยให้การเล่นเพิ่มความสนุกสนานมากขึ้น เช่น เกมแข่งขันตอบปัญหาสังคมศึกษา
     3. เกมจำลองสถานการณ์ เป็นเกมจำลอง ความเป็นจริง สถานการณ์จริงซึ่งผู้เล่นจะต้อง คิดตัดสินใจจากข้อมูลที่มี และได้รับผลของการ ตัดสินใจ เหมือนกับที่ควรจะได้รับจริง ซึ่งเกม ประเภทนี้แบ่งได้ 2 ลักษณะ คือ
              3.1 เป็นเกมที่จำลองความเป็นจริง มาไว้ในกระดานหรือบอร์ด เช่น เกมเศรษฐี เกมแก้ปัญหาความขัดแย้ง (Conflict Resolotion)
              3.2  เป็นเกมที่จำลองสถานการณ์และ บทบาทขึ้นให้เหมือนความเป็นจริงและผู้เล่นจะ ต้องลงไปเล่นจริงๆ โดยสวมบทบาทเป็นผู้เล่น คนใดคนหนึ่งในสถานการณ์นั้น
 คุณค่าของเกมที่มีต่อการเรียนการสอน
        1.      เกมเป็นสื่อที่จะส่งเสริมให้ผู้เล่นมีความคล่องและความสามารถรอบตัวสูง สามารถช่วยให้ผู้เล่นประสบผลสัมฤทธิ์ได้กว้างขวาง ทั้งทางด้านพุทธิศึกษา และจริยศึกษา แม้ว่าเกมจะไม่ดีไปกว่าการสอนแบบตั้งเดิมเมื่อใช้สอนเนื้อหาพื้นฐานก็จริง แต่สำหรับความสามารถด้านการวิเคราะห์ การสังเคราะห์และการประเมินค่าแล้วเกมจะช่วยได้มาก
        2.      เกมจะช่วยให้ผู้เล่นพัฒนาพลังความคิดสร้างสรรค์ได้มาก
        3.      เกมส่วนใหญ่ส่งเสริมความสามารถในการตัดสินใจ การสื่อสาร ความสัมพันธ์กับผู้อื่นและเจตคติทางด้านความกระตือรืนล้นที่จะฟังความเห็นผู้อื่น นอกจากนั้นเกมจะช่วยให้ผู้เล่นรู้จักแก้ปัญหาหลาย ๆ แนวทาง หลายคนเชื่อมั่นในการใช้เกมจะทำให้ผู้เรียนได้พัฒนาสิ่งที่มีคุณค่าทางการศึกษาเกือบทั้งหมด
         4.      ข้อได้เปรียบสูงสุดของเกมยิ่งกว่าวิธีสอนอื่นใดคือความสนุก ทำให้นักเรียนได้เข้ามามีส่วนมากที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักเรียนที่มีผลการเรียนไม่ค่อยดีนัก และเชื่อว่าถ้ามีการแข่งขันด้วยนักเรียนจะยิ่งทุ่มเทจิตใจในการเล่นมากยิ่งขึ้น
          5.      เกมส่วนใหญ่มักจะใช้พื้นฐานทางวิชาการหลาย ๆ ด้านซึ่งทำให้ผู้เล่นต้องรู้จัดบูรณาการความรู้และทักษะหลาย ๆ ด้านเหล่านั้นเข้าด้วย

ไม่มีความคิดเห็น: