วันจันทร์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2557

     ครูคณิต เก่งๆๆๆ ในดวงใจ

“หมูน้อยกลายเป็นแฮม” เทคนิคสอนคณิตศาสตร์ให้จับต้องได้จากญี่ปุ่น
ศ.ดร.อากิยามากับรูปทรงเรขาคณิตที่สมมติว่าเป็นกบ ซึ่งสามารถเปลี่ยนกลับไปเป็นรูปงูทรงสี่เหลี่ยมพื้นผ้าได้
 เมื่อเอ่ยถึงคณิตศาสตร์หลายคนอาจรู้สึกปวดหัว หลายคนเห็นตัวเลขและสมการเยอะๆ ก็อาจส่ายหน้า บางคนก็นึกไม่ออกว่าจะเอาคณิตศาสตร์ไปใช้อย่างไรในชีวิตประจำวัน ยิ่งภาพห้องเรียนมีอาจารย์ดุๆ กับชอล์กและกระดานดำก็อาจทำให้หลายคนโล่งใจที่ผ่านช่วงหฤโหดของชีวิตมาได้ แต่น้อยคนนักที่จะมองเห็นความงามและตกหลุมรักศาสตร์แห่งตัวเลขแขนงนี้
       
“หมูน้อยกลายเป็นแฮม” เทคนิคสอนคณิตศาสตร์ให้จับต้องได้จากญี่ปุ่น
กับสื่อการสอนมากมายที่ทำให้คณิตศาสตร์เป็นสิ่งที่สัมผัสได้
“หมูน้อยกลายเป็นแฮม” เทคนิคสอนคณิตศาสตร์ให้จับต้องได้จากญี่ปุ่น
แตงโมทรงกลมที่มีส่วนประกอบเป็นทรงกรวยหลายๆ อัน ซึ่งความสูงของกรวยก็คือรัศมีของทรงกลมนั่นเอง ซึ่งใช้อธิบายความที่มาของสูตรการหาปริมาตรทรงกลม

“หมูน้อยกลายเป็นแฮม” เทคนิคสอนคณิตศาสตร์ให้จับต้องได้จากญี่ปุ่น
ล้อรถรูปทรงสามเหลี่ยมด้านโค้ง รูปแบบใหม่ของล้อรถที่มาจากสูตรทางคณิตศาสตร์

“หมูน้อยกลายเป็นแฮม” เทคนิคสอนคณิตศาสตร์ให้จับต้องได้จากญี่ปุ่น
รูปทรงพิรามิดที่สร้างได้จากกระดาษรูปเรขาคณิตศาสตร์หลายรูปแบบ ผูกเรื่องให้นักเรียนสนใจด้วยการสมมติว่าเป็น "ซาซิมิ"

“หมูน้อยกลายเป็นแฮม” เทคนิคสอนคณิตศาสตร์ให้จับต้องได้จากญี่ปุ่น
การทดลองฉีดของเหลวจากทรงครึ่งวงกลมเข้าวงกลม 2 รูป ทำให้เด็กเข้าใจสูตรของพื้นที่ผิวทรงกลมง่ายขึ้น

“หมูน้อยกลายเป็นแฮม” เทคนิคสอนคณิตศาสตร์ให้จับต้องได้จากญี่ปุ่น
ครูคณิตศาสตร์ให้ความสนใจกับสื่อการสอนของ ศ.ดร.อากิยามา

       วันนี้ (30 ก.ย.) ศ.ดร.จิน อากิยามา (Prof.Dr.Jin Akiyama) นักคณิตศาสตร์ชาวญี่ปุ่นผู้มีชื่อเสียงในการทำให้คณิตศาสตร์เป็นเรื่องสนุกด้วยสื่อการเรียนที่จับต้องได้และผู้อำนวยการสถาบันวิจัยด้านการพัฒนาการศึกษา มหาวิทยาลัยโตไก (Tokai University) ได้มาเปิดมุมมองใหม่ๆ ในหัวข้อ “Mathematics for Everybody”   ณ อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย ให้กับผู้สนใจคณิตศาสตร์ ทั้งอาจารย์ผู้สอนจากโรงเรียนต่างๆ ตัวแทนจากสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) และนักเรียน นักศึกษาที่สนใจกว่า 150 คน ตามคำเชิญของศูนย์จัดการเทคโนโลยี สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สวทช.)
       
       ลองคิดดูเล่นๆ ว่าถ้าล้อรถไม่ใช่วงกลมแล้วจะเป็นรูปทรงเรขาคณิตอะไรได้บ้าง? ศ.ดร.อากิยามาได้ใช้คณิตศาสตร์จนได้ล้อรูปทรงใหม่ๆ เป็นรูปสามเหลี่ยมที่ด้านทั้งสามเป็นเส้นโค้ง ซึ่งรถจำลองที่ใช้ล้อดังกล่าวก็สามารถเคลื่อนที่ไปได้โดยไม่สะดุด และนำไปประยุกต์ใช้กับงานไม้ได้ด้วยการใบมีดที่ด้านทั้งสามซึ่งเมื่อหมุนล้อก็จะได้หลุมที่เป็นรูปทรงสี่เหลี่ยม
      
       การคำนวณหาปริมาตรของรูปทรง 14 หน้าอาจจะเป็นเรื่องยากสำหรับเด็ก แต่ถ้าลองใส่จินตนาการลงไปเหมือนกับ ศ.ดร.อากิยามา เราก็จะได้ “เจ้าหมูน้อย” ที่กลายเป็นหมูแฮมรูปทรงสี่เหลี่ยม หรือจะเปลี่นยเนื้อเรื่องเป็นกบน้อยถูกงูกินด้วยการเปรียบรูปทรง 14 หน้าเป็นกบแล้วเปลี่ยนทรงสี่เหลี่ยมพื้นผ้าที่เปรียบเหมือนงู เท่านี้การคำนวณหาปริมาตรก็กลายเป็นเรื่องสนุกแล้ว
      
       นอกจากนี้หลายคนอาจจะปวดขมับกับการจำสูตรพื้นที่ผิวของทรงกลม แต่ถ้าเรามีสูตรพื้นที่ผิวของวงกลมเป็นพื้นฐานแล้วก็ง่ายขึ้น ทั้งนี้ ศ.ดร.อากิยามาได้ทดลองให้เห็นว่าปริมาตรของเหลวในสายยาวที่ขดเป็นรูปครึ่งทรงกลมนั้นมีปริมาตรเท่ากับของเหลวในสายยางที่ขดเป็นรูปวงกลม 2 รูป นั่นคือพื้นที่ผิวของครึ่งทรงกลมเท่ากับพื้นที่ผิววงกลม 2 รูป จะได้สูตรของพื้นที่ผิวครึ่งทรงกลมเป็น 2pr2ดังนั้นพื้นที่ผิวทรงกลมจึงเท่ากับ 4pr2 เห็นหรือยังว่าคณิตศาสตร์นั้นสนุกแค่ไหนถ้าเราใส่จินตนาการลงไป
      
       ศ.ดร.อากิยามานักคณิตศาสตร์ผู้มีมาดศิลปินกล่าวว่าในวัยเด็กนั้นพ่อแม่และครอบครัวของเขาให้โอกาสในการเรียนรู้ อีกทั้งเขายังเติบโตท่ามกลางสภาพแวดล้อมที่เป็นธรรมชาติมากๆ เขาชอบสังเกตนก สังเกตผึ้ง ผีเสื้อและแมลงต่างๆ เขาจึงประทับใจกับสิ่งที่อยู่รอบตัว อีกทั้งเขายังชอบถอดประกอบอุปกรณ์ต่างๆ อาทิ นาฬิกาหรือจักรยานเป็นประจำ เขาจึงนำทักษะดังกล่าวมาใช้ในการสร้างสื่อการสอนคณิตศาสตร์
      
       แล้วเราเคยตั้งคำถามกันบ้างหรือไม่ว่าทำไมผ้าเป็นม้วนๆ ที่นำมาตัดเสื้อนั้นจึงต้องเป็นรูปสี่เหลี่ยม คำถามนี้ติดอยู่ในใจของ ศ.ดร.อากิยามา จนเป็นแรงบันดาลให้เขาสร้างกล่องรูปทรงแปลกจากรูปทรงเรขาคณิตอื่นๆ อาทิ รูปสามเหลี่ยมด้านเท่า รูปห้าเหลี่ยมด้านเท่าหรือรูปทรงแปดเหลี่ยม เป็นต้น และเขายังพบว่ารูปทรงพีรามิดนั้นไม่ว่าจะตัดและคลี่ออกเป็นรูปอะไรก็ตาม จะสามารถนำรูปนั้นมาต่อกันได้ไม่สิ้นสุดซึ่งเป็นหลักการเดียวกับการปูกระเบื้อง
      
       อย่างไรก็ดี ศ.ดร.อากิยามาไม่ได้สร้างสื่อการสอนแค่เรื่องเรขาคณิตเท่านั้น เขายังทำให้แคลคูลัสเป็นเรื่องง่ายโดยการสร้างอุปกรณ์เป็นหลอดทดลองเล็กๆ หลายอันฉีดของเหลวเข้าหลอดทดลองขนาดใหญ่ 1 หลอด ซึ่งเป็นหลักการของการอินทิเกรตในวิชาแคลคูลัสอีกด้วย ทั้งนี้เขาสร้างสื่อการสอนคณิตศาสตร์ที่สัมผัสได้กว่า 500 ชิ้น ซึ่งมีพื้นฐานมาจากการคำนวณทางทฤษฎีที่ซับซ้อน แต่ก็ทำให้เด็กๆ และคนทั่วไปเข้าใจได้อย่างง่ายๆ
      
       พร้อมกันนี้ ศ.ดร.อากิยามากล่าวว่าเราต้องบอกลาการเรียนคณิตศาสตร์แบบเก่ๆ ที่มีเพียงชอล์กและกระดานดำ พร้อมกับคำสั่งของครูที่เด็กทำถูกก็เป็นเด็กดี ส่วนเด็กที่ทำไม่ถูกก็กลายเป็นเด็กไม่ดีไป ทั้งนี้ต้องเน้นการทดลองให้เด็กมีส่วนร่วมมากขึ้น ทำคณิตศาสตร์ให้กลายเป็นสิ่งที่จับต้องได้ องค์ประกอบที่จะทำให้เด็กชอบคือต้องทำให้เด็กเกิดความประทับใจและมีความสุข เมื่อเด็กได้ทดลองก็จะชอบและประทับใจ ซึ่งความแปลกก็เป็นสิ่งที่ทำให้เด็กตื่นเต้นและสนใจ
      
       “เราไม่ควรเรียนคณิตศาสตร์เพียงเพื่อทำคะแนน แต่เราควรเรียนคณิตศาสตร์โดยมีเป้าหมายว่าจะทำให้ชีวิตของเราง่ายและสะดวกสบายขึ้น คณิตศาสตร์เป็นเรื่องที่สนุกนะเด็กๆ ทำไมไม่ลองที่จะเรียนรู้ดูล่ะ” ศ.ดร.อากิยามาฝากถึงเด็กๆ 

ไม่มีความคิดเห็น: